วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ข้อมูลสถานที่เที่ยวแต่ละภาค

ข้อมูลท่องเที่ยวภาคเหนือ
ส่วนบนของฟอร์ม
คำอธิบาย: blank
 ส่วนล่างของฟอร์ม



คำอธิบาย: http://www.hotelsthailand.com/images/icon/arrow.gif ภาคเหนือ ประกอบด้วย 17 จังหวัด ได้แก่ จังหวัด กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ นครสวรรค์ ตาก น่าน พะเยา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์ และ อุทัยธานี มีพื้นที่รวม 169,644.3 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 106 ล้านไร่

จากหลักฐานการขุดค้นทางโบราณคดีของกรมศิลปากรและเอกสารอื่น ๆ พอสรุปได้ว่า ในอดีตภาคเหนือแบ่งออกเป็น 2 อาณาจักร กับ 1 แคว้น คือ

1. อาณาจักรโยนก เป็นอาณาจักรที่เกิดก่อนอาณาจักรล้านนา ช่วงเวลาที่ก่อตั้งอาณาจักรไม่ปรากฏแน่ชัด แต่มาสิ้นสุด ในพุทธศตวรรษที่ 17 โดยมีพระเจ้าสิงหนวัติ เป็นผู้ก่อตั้ง มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองเชียงแสน (อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย) มีกษัตริย์สืบต่อมาหลายพระองค์ และได้เสียเอกราชให้ขอม ในสมัยพระเจ้าพังคราช ต่อมาพระเจ้า พรหมกอบกู้เอกสารคืนมาได้ และได้สร้างเมืองขึ้นใหม่บริเวณที่แม่น้ำฝางและแม่น้ำกกบรรจบกัน เรียกว่า เมืองไชยปราการ และประทับอยู่จนสิ้นพระชนน์ อาณาจักรโยนกจึงเสื่อมและสิ้นลง

2. อาณาจักรล้านนา หรือ ลานนา พระเจ้าเม็งราย โอรสของพระเจ้าลาวเม็ง กษัตริย์เมืองหิรัญนครเงินยางเป็นผู้ก่อตั้ง ดังข้อความจารึกไว้ที่ฐานอนุสาวรีย์ของ ท่านที่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงรายว่า "พ่อขุนเม็งราย ประสูติ พ.ศ.1782 ทิวงคต เมื่อ พ.ศ. 1860 ทรงสร้างเมืองเชียงรายขึ้นเป็นเมืองแรก เมื่อ พ.ศ. 1805 ทรงรวบรวม อาณาจักรล้านนาให้เป็นปึกแผ่น และทรงสร้างความสามัคคีระหว่างชนชาติไทย"

เมื่อทรงครองราชย์ ในปี พ.ศ. 1802 ได้รวมหัวเมืองใกล้เคียงไว้ด้วยกัน ยกเว้นเมืองพะเยา ซึ่งพญางำเมืองครองอยู่ และดินแดนของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช โดยกษัตริย์ทั้ง 3 พระองค์ ได้ทรงกระทำสัตยปฏิญาณว่าจะเป็นมิตรไมตรีต่อกัน

พระองค์ทรงสร้างเมืองเชียงราย เมืองฝาง และยึดครองแคว้นหริภุณชัย เมืองลำปาง และได้สร้างเมืองเวียงกุมกาม (อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่) จากนั้นจึงทรงสร้างเมืองใหม่ ให้เป็นศูนย์กลางการปกครองแคว้นล้านนาที่ทรงรวบรวมมา ได้บริเวณริมแม่น้ำปิงไปจนถึงดอยสุเทพ ซึ่งเป็นที่ราบอันอุดมสมบูรณ์ และขนานนามว่า "นพบุรีศรีนครพิงค์ เชียงใหม่" เสร็จเรียบร้อยเมื่อ พ.ศ. 1839 (ก่อนกรุงศรีอยุธยา 54 ปี กรุงศรีอยุธยาสร้างเมื่อ พ.ศ.1893) แล้วประทับอยู่ตลอดพระชนม์ชีพ

3. แคว้นหริภุณชัย หรือ ลำพูน ซึ่งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำปิงและแม่น้ำวัง ทางด้านตะวันตกของเทือกเขาผีปันน้ำ


คำอธิบาย: http://www.hotelsthailand.com/images/icon/arrow.gif ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศของภาคเหนือเป็นทิวเขาทอดยาวจากเหนือลงมาใต้ ทิวเขาที่สำคัญได้แก่ ทิวเขาถนนธงชัย เป็นทิว เขาที่ใหญ่และยาวที่สุดของภาคเหนือ มียอดเขาสูงเป็นอันดับหนึ่งของประเทศคือ ยอดเขาดอยอินทนนท์ อยู่ในจังหวัด เชียงใหม่ สูงจากระดับน้ำทะเล 2,565 เมตร ทิวเขาแดนลาวกั้นเขตแดนไทยกับพม่า มียอดเขาสูงเป็นอันดับสองของ ประเทศคือ ยอดดอยผ้าห่มปก อยู่ในอำเภอแม่อาย มีความสูง 2,297.84 เมตร และยอดดอยหลวงเชียงดาว สูง 2,222 เมตร เป็นอันดับ 3 อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่เช่นกัน และยังมีทิวเขาขุนตาล ทิวเขาผีปันน้ำตะวันตก ทิวเขานี้อยู่ระหว่างแม่น้ำ วังกับแม่น้ำยม ทิวเขาผีปันน้ำตะวันออก อยู่ระหว่างแม่น้ำยมกับแม่น้ำน่าน ทิวเขาหลวงพระบาง กั้นเขตแดนระหว่างไทย กับลาว ทิวเขาเหล่านี้ประกอบไปด้วยภูเขาใหญ่น้อยมากมาย เช่น ดอยอินทนนท์ ดอยขุนตาล ภูชี้ฟ้า ภูผาตั้ง และยังเป็นที่อยู่ อาศัยของชาวเขาเผ่าต่างๆ ได้แก่ กะเหรี่ยง ม้ง มูเซอ เย้า อีก้อ และลีซอ

ส่วนพื้นที่ราบบริเวณหุบเขาและแถบลุ่มแม่น้ำปิง วัง ยม น่าน ลุ่มน้ำกก และน้ำอิง มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การ เพาะปลูกข้าว และพืชไร่ รวมทั้งไม้ผลหลากหลายชนิด


คำอธิบาย: http://www.hotelsthailand.com/images/icon/arrow.gif แม่น้ำ
แม่น้ำสายสำคัญในภาคเหนือ แบ่งออกเป็น 3 พวก ได้แก่

พวกที่ไหลจากเหนือลงใต้ ได้แก่ แม่น้ำปิง แม่น้ำแจ่ม แม่น้ำตื่น แม่น้ำงัด แม่น้ำกวง แม่น้ำทา แม่น้ำวัง แม่น้ำจาง แม่น้ำยม แม่น้ำน่าน และแม่น้ำปาด

พวกที่ไหลจากใต้ขึ้นเหนือ ได้แก่ แม่น้ำอิง แม่น้ำลาว แม่น้ำกก แม่น้ำจัน และแม่น้ำลี้

พวกที่ไหลไปลงทางด้านพม่า ได้แก่ แม่น้ำเมย แม่น้ำยวม และแม่น้ำปายซึ่งไหลบรรจบกับแม่น้ำสาละวิน

ลักษณะนิสัยของชาวเหนือสังเกตได้จากภาษาพูด ซึ่งเป็นภาษาไทยท้องถิ่นที่มีความไพเราะอ่อนหวาน แสดงถึงความ สุภาพอ่อนโยนในจิตใจ ความโอบอ้อมอารี และความเป็นมิตร

งานหัตถกรรมมากมายที่สร้างสรรค์เป็นข้าวของเครื่องใช้ และของที่ระลึกที่ได้รับความนิยมจนกลายเป็นสินค้าส่งออกที่นำรายได้เข้าประเทศนั้น ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่สามารถบ่งบอกความ เป็นชาวไทยภาคเหนือได้เป็นอย่างดี


ข้อมูลท่องเที่ยวภาคกลาง
ส่วนบนของฟอร์ม
คำอธิบาย: blank
 ส่วนล่างของฟอร์ม



คำอธิบาย: http://www.hotelsthailand.com/images/icon/arrow.gif พื้นที่ภาคกลาง ประกอบด้วย 21 จังหวัด และ 1 เขตการปกครองพิเศษ ได้แก่ จังหวัด กาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา ชัยนาท นครนายก นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี ราชบุรี ลพบุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระแก้ว สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี และ อ่างทอง ส่วน กรุงเทพมหานคร ไม่นับว่าเป็นจังหวัด เนื่องจากเป็นเขตการปกครองพิเศษ

เนื่องจากภาคกลางเป็นที่ราบลุ่มกว้างใหญ่ เป็นศูนย์รวมของแม่น้ำสายสำคัญหลายสาย ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา ป่าสัก แม่กลอง ท่าจีน แควน้อย แควใหญ่ ฯลฯ พื้นที่แถบนี้จึงอุดมสมบูรณ์ เป็นอู่ข้าวอู่น้ำของประเทศ ประชากรส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม ทำนาปลูกข้าว มีสวนผลไม้ และทำไร่ นอกจากนี้ยังมี กิจการปศุสัตว์ เลี้ยงโคพันธุ์เนื้อพันธุ์นม มีฟาร์มไก่ และเลี้ยงปลา ส่วนจังหวัดที่อยู่ติดชายทะเลก็ทำการประมง และนาเกลือ รวมไปถึงอาชีพรับจ้างในโรงงาน อุตสาหกรรม กิจการพาณิชย์ รับราชการ และงานหัตถศิลป์อีกมากมาย

จากเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ได้กล่าวว่า ภาคกลางเป็นดินแดนแห่งอารยธรรมที่สืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยทวารวดี เมื่อ พุทธศตวรรษที่ 11-16 ยุคที่ชนชาติมอญ ครอบครองดินแดนแถบนี้ จากนั้นราวพุทธศตวรรษที่ 16-18 ชนชาติขอมหรือ เขมรก็เข้ามาเรืองอำนาจ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ลพบุรี และขยายอาณาเขตออก ไปยังจังหวัดสุพรรณบุรี เพชรบุรี และสิงห์บุรี

เมื่อ พ.ศ.1893 พระเจ้าอู่ทองทรงสร้างเมืองขึ้นแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งต่อมาได้ย้ายราชธานีมาอยู่ที่บริเวณตำบล หนองโสนหรือบึงพระราม นับตั้งแต่นั้น มากรุงศรีอยุธยาก็เจริญรุ่งเรืองเป็นบึกแผ่น มีการขยายอาณาเขตและติดต่อ ค้าขายกับชาวตะวันตก ได้แก่ โปรตุเกส ฝรั่งเศส ฮอลันดา และอังกฤษ รวมถึง การรับอารยธรรมตะวันตกด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะศาสนาคริสต์ ก็ได้เข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทยเป็นครั้งแรกในดินแดนแถบนี้

ด้วยความที่เป็นแหล่งอารยธรรมเก่าแก่ มีประชากรหลายเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ จึงก่อให้เกิดงานศิลป์ผสมผสานที่งดงาม ตามวัดวาอารามต่างๆ เป็นมรดกของประเทศ สืบทอดมาถึงลูกหลานในปัจจุบัน และบางแห่งทรงคุณค่าจนได้รับการ ยกย่องให้เป็นมรดกของโลกที่ต้องรักษาไว้ชื่นชมร่วมกันตราบนานเท่านาน อีกทั้งวัฒนธรรม ประเพณีและการละเล่นต่างๆ ซึ่งยังคงมีให้ชมได้ในหลายพื้นที่ของจังหวัดในภาคกลาง เช่น ระบำชาวไร่ เพลงพวงมาลัย เพลงฉ่อย เพลงอธิษฐาน เพลงเหย่ย เพลงแม่ศรี เพลงเต้นกำรำเคียว เพลงลำตัด เพลงปรบไก่ เพลงอีแซว กลองยาว และลิเก เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการแสดงในราชสำนักที่ภายหลังได้นำออกเผยแพร่ทั่วไป เช่น โขน ละคร หนังใหญ่ หุ่นกระบอก และดนตรีไทย

เนื่องจากบรรพบุรุษของไทยในดินแดนนี้ เป็นนักรบที่กล้าหาญ มีความรู้ความสามารถ ฉลาดหลักแหลม มีปฏิภาณ ไหวพริบดี จึงรู้คิดค้นปรับเปลี่ยนท่วงท่าการต่อสู้ จนกลายเป็นศิลปะป้องกันตัวที่สร้างชื่อเสียงให้ประเทศ ได้แก่ การฟันดาบ กระบี่กระบอง และการชกมวย

นอกจากนี้สภาพภูมิประเทศของภาคกลางยังเอื้ออำนวยต่อกิจกรรมทางการท่องเที่ยวมากมาย ได้แก่ ภูเขาใหญ่น้อย หลายแห่ง ซึ่งเป็นที่ตั้งของถ้ำอันสวยงาม มีพื้นที่ป่าชุ่มชื้นเป็นต้นน้ำลำธารที่ไหลรวมเป็นน้ำตก มีเกาะแก่งกลางลำน้ำ และ ด้วยเหตุผลที่ภาคกลางเป็นที่ตั้งของเมืองหลวง คือ กรุงเทพมหานคร จึงเป็น ศูนย์กลางการคมนาคมที่สำคัญของประเทศ


ข้อมูลท่องเที่ยวภาคตะวันออก
 จันทบุรี  ชลบุรี     ตราด     ระยอง

 ภาคตะวันออก ประกอบด้วย 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัด จันทบุรี ชลบุรี ตราด และ ระยอง ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ ราบสลับภูเขาลูกเตี้ยๆ บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกมีเทือก เขาจันทบุรีทอดตัวไปทางตะวันตกจนจดกับเทือกเขาพนม ดงรัก ซึ่งทอดยาวจากเหนือถึงใต้ เป็นเส้นแบ่งอาณาเขต ระหว่างไทยกับประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย มีแม่น้ำสาย สำคัญ ได้แก่ แม่น้ำจันทบุรี แม่น้ำตราด แม่น้ำระยอง และแม่น้ำประแสร์ ซึ่งไหลลงสู่ทะเลอ่าวไทย ชายฝั่งทะเล ที่เรียบยาว โค้งเว้า ท้องทะเลตะวันออกเต็มไปด้วยกลุ่มเกาะน้อยใหญ่หลายแห่ง ที่สำคัญได้แก่ เกาะช้าง เกาะหมาก เกาะกูด ในจังหวัดตราด เกาะเสม็ด เกาะมัน จังหวัดระยอง เกาะล้าน เกาะสีชัง ในจังหวัดชลบุรี ส่วนบริเวณปากแม่น้ำเป็นพื้นที่ป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งเกิดจากการทับถมของตะกอนโคลนตมที่แม่น้ำสายต่างๆ พัดพามา เป็นบริเวณ ที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศน์ของสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ในภูมิภาคตะวันออก

จากสภาพภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ และท้องทะเลที่กว้างใหญ่ ประชากรจึงประกอบอาชีพที่ หลากหลาย ได้แก่ สวนผลไม้ เช่น เงาะ ทุเรียน มังคุด สับปะรด สวนยางพาราที่นำพันธุ์มาจากภาคใต้ มีการทำประมง จำหน่ายอาหารทะเลสด รวมทั้งอาหารแปรรูปต่าง ๆ มีโรงงานอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ซึ่งกำหนดให้ เป็นแหล่งอุตสาหกรรมหนักที่ต้องใช้พลังงานจากก๊าซธรรมชาติเป็นวัตถุดิบ เป็นแหล่งรวมแร่อัญมณีที่มีค่าของประเทศ รวมไปถึงการเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ ของโลกด้วย

ภูมิภาคแห่งนี้ยังเป็นที่ตั้งของสนามบินอู่ตะเภา ซึ่งเป็นสนามบินของทหาร ใช้เป็นที่จอดเครื่องบินขณะร่วมซ้อมรบ ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา อีกทั้งยังใช้เป็นสนามบิน สำหรับเครื่องบินเช่าเหมาของนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ
ลักษณะโดยรวมของภาคตะวันออกในปัจจุบันคือ จังหวัดระยองนั้น ด้านตะวันตกและด้านเหนือเป็นเขตอุตสาหกรรม ด้านตะวันออกและด้านใต้เป็นเขตอุทยานแห่งชาติ และพื้นที่ท่องเที่ยว สำหรับจังหวัดจันทบุรี เป็นศูนย์กลางการค้าอัญมณี ขนาดใหญ่ ส่วนจังหวัดตราดนอกจากจะมีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญแล้ว ยังมีแนวโน้มที่จะสร้าง สนามบินพาณิชย์ เพื่อเชื่อมต่อการค้าการลงทุนกับประเทศเพื่อนบ้านอีกด้วย

ไม่เพียงแต่จะเป็นแหล่งอุตสาหกรรมที่ผลิตชิ้นงานเพื่อเป็นสินค้าออกแล้ว จังหวัดทั้ง 4 ในภาคตะวันออกยังเป็น สุดยอดของแหล่งท่องเที่ยวที่ดึงดูดใจนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมากที่สุดด้วย ทุกองค์ประกอบของ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวจึงถูกรวมไว้ ณ ภูมิภาคแห่งนี้



ข้อมูลท่องเที่ยวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 

กาฬสินธุ์                ขอนแก่น                ชัยภูมิ     นครพนม
 นครราชสีมา         บุรีรัมย์   มหาสารคาม         มุกดาหาร
 ยโสธร    ร้อยเอ็ด เลย        ศรีสะเกษ
 สกลนคร                สุรินทร์   หนองคาย             หนองบัวลำภู
 อำนาจเจริญ         อุดรธานี                อุบลราชธานี        

 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคอีสาน ประกอบด้วย 19 จังหวัด ได้แก่ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุดรธานี และ อุบลราชธานี

มีพื้นที่ประมาณ 170,226 ตารางกิโลเมตร หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งประเทศ ตั้งอยู่บนที่ราบสูงโคราช ภูมิประเทศ ทั้งภาคยกตัวสูงเป็นขอบแยกตัวออกจากภาคกลาง อย่างชัดเจน ประกอบด้วยเทือกเขาสูงทางทิศตะวันตกและทิศใต้ เทือกเขาทิศตะวันตกมีความสูงเฉลี่ย 500-1,000 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล มียอดเขา ที่สูงที่สุด ในภาคอีสานคือ ยอดภูหลวง มีความสูง 1,571 เมตร และภูกระดึงสูง 1,325 เมตร เป็นแหล่งต้นน้ำของแม่น้ำหลายสาย ได้แก่ แม่น้ำพอง แม่น้ำเลย แม่น้ำพรม แม่น้ำชี และลำตะคอง

ทางด้านทิศใต้มีเทือกเขาสันกำแพง และเทือกเขาพนมดงรัก กั้นระหว่างภาคอีสานของไทย กับกัมพูชา และลาว มีความสูงเฉลี่ย 400-700 เมตร ยอดเขาเขียวเป็น ยอดเขาที่สูงที่สุดอยู่ทางตอนใต้ สูงประมาณ 1,292 เมตร ส่วนตอนกลางของภาคมีเทือกเขาภูพานทอดตัวจากเหนือลงสู่ทิศใต้ แบ่งภาคอีสานออกเป็น 2 ส่วน คือ แอ่งโคราช คือ บริเวณแถบลุ่มแม่น้ำชี และแม่น้ำมูล มีพื้นที่ 3 ใน 4 ของภาคอีสานทั้งหมด แอ่งสกลนคร คือบริเวณตอนเหนือของเทือกเขาภูพาน และบริเวณที่ราบลุ่มน้ำโขง

การค้นพบโครงกระดูก และรอยเท้าไดโนเสาร์บนแผ่นหินทรายที่อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย และอำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ หรือแม้แต่ ภาพเขียนของมนุษย์โบราณตามผนังถ้ำ รวมทั้งวัฒนธรรมบ้านเชียง และซากโบราณวัตถุมากมาย ทำให้การขุดค้นหาร่องรอยอารยธรรมในอดีตของดินแดนอันมั่งคั่งแห่งนี้ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องไม่รู้จบ

แม้ว่าชาวอีสานที่อาศัยอยู่ในที่ราบสูงโคราชนี้ จะประกอบด้วยกลุ่มชนหลายเผ่า เช่น เขมร ส่วย (กุย) แสก ย้อ ผู้ไทย กะโส้ (โซ่) รวมทั้ง ไทยโคราช ซึ่งแต่ละเผ่าย่อมมี ความแตกต่างกัน แต่วิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ยึดมั่นอยู่ในจารีตประเพณี ที่เรียกว่า "ฮีตบ้าน คองเมือง" และ "ฮีตสิบสอง คองสิบสี่" สอนให้ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ร่วมกิจกรรมสังคมและ งานบุญงานกุศล เป็นประจำ ทำให้การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันของกลุ่มชนเหล่านี้มีความสงบสุขตลอดมา ด้วยอุปนิสัยขยันขันแข็ง และสุขภาพ ร่างกายที่สมบูรณ์ จิตใจผ่องใสอ่อนโยน และเวลาที่ว่างจากการทำนา จึงคิดสร้าง สรรค์งานศิลป์ในรูปแบบต่างๆ ผ้าไหม ลายสวย ผ้าฝ้ายทอมือที่นับวันจะหายาก ข้าวของเครื่องใช้ เครื่องจักสาน และเครื่องปั้นดินเผา สร้างรายได้แก่ครอบครัว อีกทางหนึ่ง

ความอุดมสมบูรณ์ด้วยธรรมชาติที่สวยงามบนยอดเขาสูงหลายแห่ง แหล่งรวมอารยธรรมโบราณนับพันปี ที่ทรงคุณค่า ทางประวัติศาสตร์ ตลอดจนวัฒนธรรมพื้นบ้าน วิถีชีวิตที่เรียบง่าย และความมีน้ำใจของชาวอีสาน ยังคงเป็นเสน่ห์ที่มัดใจ ให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาเยือนอีสานอย่างต่อเนื่องจวบจนปัจจุบัน

ข้อมูลท่องเที่ยวภาคใต้
               
 กระบี่     ชุมพร     ตรัง        นครศรีธรรมราช
 นราธิวาส              ปัตตานี  พังงา      พัทลุง
 ภูเก็ต      ยะลา     ระนอง   สงขลา
 สตูล       สุราษฎร์ธานี                         

 ภาคใต้ ประกอบด้วย 14 จังหวัด ได้แก่ กระบี่ ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ปัตตานี พังงา พัทลุง ภูเก็ต ยะลา ระนอง สงขลา สตูล และ สุราษฎร์ธานี พื้นที่ภาคใต้ ตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินเดีย ขนาบด้วยท้อง ทะเลอ่าวไทยทางฝั่งตะวันออก และทะเล อันดามันทางฝั่งตะวันตก มีเนื้อที่รวม 70,715.2 ตารางกิโลเมตร จังหวัดที่ใหญ่ที่ สุดคือ สุราษฎร์ธานี และจังหวัดที่เล็กที่สุดคือ ภูเก็ต มีความยาวจากเหนือจดใต้ประมาณ 750 กิโลเมตร ทุกจังหวัดของภาคมีเขต ติดต่อกับทะเล ยกเว้น จังหวัดยะลา


 ลักษณะภูมิประเทศ
ประกอบด้วย พื้นที่ราบ ป่าไม้ ภูเขา หาดทราย น้ำตก ถ้ำ ทะเลสาบ และกลุ่มเกาะในท้องทะเลทั้งสอง ฝั่ง มีเทือกเขาที่สำคัญได้แก่ เทือกเขาตะนาวศรี เทือกเขาภูเก็ต เทือกเขานครศรีธรรมราช โดยมีเทือกเขาสันกาลาคีรี เป็น พรมแดนกั้นระหว่างไทยกับมาเลเซีย รวมความยาวของเทือกเขาภาคใต้ทั้งหมดกว่า 1,000 กิโลเมตร มีแม่น้ำสายสำคัญ ได้แก่ แม่น้ำพุมดวง แม่น้ำตาปี แม่น้ำปัตตานี แม่น้ำท่าทอง แม่น้ำตะกั่วป่า แม่น้ำปากพนัง และแม่น้ำตรัง

ชายหาดทางฝั่งอ่าวไทยเกิดจากการยกตัวสูงขึ้น จึงมีที่ราบชายฝั่งทะเลยาวเรียบกว้าง น้ำตื้น ส่วนทางด้านทะเลอันดามัน เป็นลักษณะของชายฝั่งยุบต่ำลง มีที่ราบน้อย ชายหาดเว้าแหว่ง มีหน้าผาสูงชัน ชายฝั่งเป็นโขดหินและป่าโกงกาง สภาพ อากาศค่อนข้างร้อน แต่เนื่องจากได้รับอิทธิพลของลมมรสุม จึงทำให้มีฝนตกชุกตลอดทั้งปี โดยเริ่มจากเดือนพฤษภาคมถึง เดือนกันยายน เป็นลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งจะทำให้เกิดฝนตกและคลื่นลมแรงทางฝั่งทะเลอันดามัน และอิทธิพลของ ลมมรสุม ตะวันออกเฉียงเหนือระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ทางฝั่งทะเลอ่าวไทยตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป ภาค ใต้จึงมีเพียง 2 ฤดูคือ ฤดูร้อน และฤดูฝน


 ตามหลักฐานทางโบราณคดี
ได้ระบุว่าแหลมมลายูเป็นศูนย์กลางการค้าขายมานาน และมีเมืองที่เจริญรุ่งเรืองหลายแห่ง เช่น ตักโกละ ลังกาสุกะ พานพาน ตามพรลิงค์ และศรีวิชัย

อาณาจักรศรีวิชัย มีราชธานีอยู่ในเกาะสุมาตรา (ในปัจจุบัน) เป็นอาณาจักรแรกที่มีเรื่องราวเกี่ยวพันกับดินแดนในแหลม มลายู โดยมีประเทศราชบนแหลมลายู หลายประเทศ คือ ปาหัง ตรังกานู กลันตัน ตามพรลิงค์ (นครศรีธรรมราช) ครหิ (ไชยา) ลังกาสุกะ (อยู่ในประเทศมาเลเซีย) เกตะ (ไทรบุรี) กราตักโกลา (ตะกั่วป่า) และปันพาลา (อยู่ในประเทศพม่า) พลเมืองนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน ซึ่งได้เผยแผ่มาในดินแดนแถบนี้ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 13

ภายหลังที่อาณาจักรศรีวิชัยเสื่อมอำนาจลง เมืองตามพรลิงค์ ได้แยกตนเป็นอิสระโดยมีศูนย์กลางอยู่ที่แคว้นนครศรี ธรรมราช มีอำนาจปกครองเมืองต่าง ๆ ได้แก่ สายบุรี ปัตตานี กลันตัน ปาหัง ไทรบุรี พัทลุง ตรัง ชุมพร บันไทสมอ สงขลา ตะกั่วป่า ถลาง และกระบุรี

ในสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี ไทยได้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับแคว้นนครศรีธรรมราช ต่อมาเมื่อกรุงศรีอยุธยามีอำนาจขึ้น แทนสุโขทัย (พ.ศ. 1893) และได้เมืองปักษ์ใต้ทั้งหมดเป็นเมืองขึ้น จึงได้มอบอำนาจให้เมืองนครศรีธรรมราชปกครอง เมืองฝ่ายใต้ และหัวเมืองมลายูทั้งหมด


 จากสภาพทางภูมิศาสตร์
ทำให้ภาคใต้มีความสัมพันธ์กับประเทศในเอเชียอาคเนย์มาโดยตลอด เช่น ค้าขายกับจีนมาตั้งแต่ พุทธศตวรรษที่ 5 จนถึง 16 สินค้าที่ค้าขาย ได้แก่ ไข่มุก เครื่องแก้ว น้ำหอม อัญมณี และนอแรด ในกลางพุทธศตวรรษที่ 10-12 มีการติดต่อกับอินเดีย มีการเผยแผ่ศาสนาพุทธและพราหมณ์ ซึ่งมีอิทธพลทางด้านศิลปะเป็นอย่างมาก รวมทั้ง วรรณคดี ความเชื่อ ประเพณี และกฏหมาย จากนั้นในพุทธศตวรรษที่ 12-15 มีการค้าเครื่องเทศกับชาวเปอร์เซียและชาว อาหรับ ซึ่งได้นำศาสนาอิสลามมาสู่เกาะสุมาตรา จากนั้นได้ขยายสู่แหลมมลายูถึงประเทศอินโดนีเซีย และเลยมาถึงทางใต้ ของไทยในราวศตวรรษที่ 20 ทำให้ชาวพื้นเมืองภาคใต้บางส่วนนับถือศาสนาอิสลาม

นอกจากชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมแล้ว ยังมีกลุ่มชาวพื้นเมืองที่เรียกว่า "ชาวน้ำหรือชาวเล" อาศัยอยู่ตามริมฝั่งทะเล ในอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา หาดราไวย์ และเกาะสิเหร่ จังหวัดภูเก็ต และตามหมู่เกาะต่าง ๆ ของจังหวัดสตูล ชาวพื้น เมืองเหล่านี้เรียกตัวเองว่า "ชาวไทยใหม่" เชื่อว่าเป็นบรรพบุรุษของชนชาติมลายู

ชาวน้ำหรือชาวเล มีสีผิวคล้ำ ร่างกายแข็งแรง นิสัยรักสงบ นับถือภูตผีปีศาจ มีประเพณีบวงสรวงบรรพบุรุษและเจ้าเกาะ โดยมีพิธีลอยเรือสะเดาะเคราะห์ เป็นบทพิสูจน์ ความเชื่ออันนี้ ส่วนอาชีพหลักคือ การทำประมง

สำหรับชาวซาไก หรือที่เรียกว่า เงาะป่า นั้น เป็นชนพื้นเมืองอีกเผ่าหนึ่งที่อาศัยอยู่ทางภาคใต้โดยเฉพาะที่อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง อำเภอบันนังสตา และอำเภอเบตง ในจังหวัดยะลา ชาวซาไกมีผิวพรรณและรูปร่างคล้ายชาวน้ำ แต่อาศัยอยู่ตามป่าเขา มีอาชีพหาของป่า และเก่งในการล่าสัตว์


 อุปนิสัยของชาวใต้
ส่วนใหญ่จะอดทน เข้มแข็ง ฉลาด มีความมุ่งมั่นสูงและปราดเปรียว การแต่งกายจะแตกต่างไปตาม กลุ่ม คือ ชาวไทยเชื้อสายจีนแต่งกายเป็นแบบจีน ชาวไทยมุสลิม จะแต่งกายคล้ายชาวมาเลเซีย สตรีนุ่งผ้าปาเต๊ะ สวมเสื้อยา หยา เป็นเสื้อแขนกระบอก มีผ้าคลุมศีรษะ ผู้ชายนุ่งโสร่ง หรือกางเกง สวมเสื้อแขนยาว โพกศีรษะหรือสวมหมวก ปัจจุบัน มีการแต่งกายที่เป็นสากลมากขึ้น ส่วนภาษาที่ใช้เป็นภาษาไทยสำเนียงชาวใต้ แต่ผู้ที่อยู่ใกล้ชายแดนระหว่างไทยกับ มาเลเซียจะพูดภาษายาวี หรือภาษามาลายู

ถึงแม้ว่าอาหารของภาคใต้ จะมีรสจัดแต่ก็เป็นที่นิยมของคนทั่วไป ได้แก่ แกงเหลือง แกงไตปลา แกงส้ม น้ำยาปักษ์ใต้ น้ำพริกกุ้งเสียบ น้ำพริกกะปิ รับประทานกับผักสดหลายชนิด ข้าวยำ บูดูหลน ไก่กอและ รวมทั้งอาหารทะเล

ประชากรทางภาคใต้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนา ทำไร่กาแฟ มีสวนยางพารา สวนมะพร้าว สวนผลไม้ และมะม่วง หิมพานต์ ทำการประมงน้ำลึกและประมงชายฝั่ง การทำนากุ้ง เลี้ยงหอยมุก ส่วนผลงานด้านหัตถกรรม ได้แก่ ผ้าเกาะยอ ผ้าไหมพุมเรียง ผ้าทอเมืองนคร ผ้าบาติก เครื่องประดับเครื่องใช้ประเภทเครื่องเงิน เครื่องทอง ทองเหลืองและเครื่องถม งานฝีมือจักสานย่านลิเพา และเครื่องประดับที่ทำจากเปลือกหอย สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ภาคใต้ยังคงอยู่ใน ความสนใจของนักท่องเที่ยว นอกเหนือจากธรรมชาติที่สวยงาม





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น